messager
check_circle สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมาตำบลภูแล่นช้าง
ชาวภูแล่นช้างอพยพมาจากเมืองเซโปนฝั่งตะวันออกประเทศลาว ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๔อพยพครั้งแรกประมาณ ๒๐ ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งลำน้ำห้วยขามตอนใต้ ระหว่างบ้านโพนสวางกับ บ้านโนนศาลา ปัจจุบันนี้ให้ชื่อว่า “บ้านท่าไค้” ท้าวบุตรโคตรผู้เป็นหัวหน้าบ้านท่าไค้ ได้จัดส่งชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่ง ไปตั้งบ้านเรือนสำรองใกล้เชิงเขาภูแดนช้าง ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ทำเป็นกระท่อมนาภาษาท้องถิ่นนี้เรียกว่า“เถียงนา”ทำรวมกันเป็นหมู่ๆเพื่อป้องกันช้างป่าจะมาทำร้ายพืชพันธ์และจะได้ช่วยกันทันอย่างรวดเร็ว ต่อมาคนทั้งหลายเรียกกันว่า“บ้านเถียงนาชุม”และชายฉกรรจ์เหล่านั้นได้ทำเครื่องสัญญาณติดต่อกันโดยทำไม้เป็นแผ่นผูกแขวนไว้ที่กระท่อมของตนเพื่อตีสัญญาณส่งต่อกันเป็นทอดๆไป เมื่อเวลาช้างป่าเข้ามาเรียกกันว่า “เกาะลอยหรือกระลอ” ช้างป่าก็เริ่มถอยห่างไปเรื่อยๆ ประมาณปี ๒๕๓๘ ได้ย้ายบ้านเรือนมาตั้งอยู่เชิงเขาแดนช้าง (บ้านเถียงนาชุม) เชิงเขาแห่งนี้เป็นแดนหากินของช้างป่าอยู่ก่อน - ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีลำน้ำห้วยขามและห้วยโป่ง ห่างหมู่บ้าน ๑ กิโลเมตร - ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านมีหนองขามเฒ่าและลำพะยัง ห่างหมู่บ้านประมาณ ๒ กิโลเมตร - ตอนใต้ลงไปอีกมีห้วยแสง ห้วยน้ำปุ้น ห่างหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นทำเลทำการเกษตรอย่างดี จึงตั้งชื่อว่า “บ้านนาคลอง” สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีโคตรหลักคำและพรหมดวงสี ท้าวเพียเมืองวังไม่พอใจจะทำราชการกับเจ้าเมืองวัง จึงอพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งตะวันตกพักอาศัยอยู่เชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตก ขณะนั้นมีหมู่บ้านเป็นหลักอยู่ ๓ หมู่บ้าน คือบ้านนาขาม บ้านนาคู บ้านนาคลอง ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ครองราชย์สมบัติเมืองเวียงจันทร์ เป็นประเทศราชขึ้นต่อกับกรุงเทพฯ ท้าวเพียทั้งสองลงไปเฝ้าสวามิภักดิ์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอตั้งอยู่บ้านนาคลอง เมื่อเท้าบุตรโคตรหัวหน้าหมู่บ้านคนเดิมถึงแก่กรรมแล้วโคตรหลักคำได้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน จึงเปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “บ้านภูแดนช้าง”ต่อมาเรียกเพี้ยนมาเป็น “บ้านภูแล่นช้าง” ศาลปู่ตา(ศาลเจ้าปู่) เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนในตำบลและใกล้เคียงพากันนำข้าวปลาอาหารมาถวาย บูชากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคล และมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัย ๑๖๐ปีที่แล้ว ตอนตั้งบ้านภูแล่นช้างใหม่

ประวัติเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง
เทศบาลตำบลภูแล่นช้าง ตั้งอยู่ที่ – หมู่ที่ ๖บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะจากสภาตำบลภูแล่นช้างเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้าง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้าง หมู่บ้านละ ๒ คน มาจากการเลือกตั้ง และยังให้กำนัน,ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตำแหน่ง และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้างเป็นเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลภูแล่นช้างตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญ
คำขวัญประจำตำบล “ภูแล่นช้างเมืองตำนาน ภูพานบ่อน้ำแร่ ศาลเจ้าแม่ย่าเบ้า รอยไดโนเสาร์ล้านปี ประเพณีบุญบั้งไฟ เลื่องลือไกลเจ้าปู่ตา ร่วมศรัทธาองค์สัมฤทธิ์”

ข้อมูลโดยทั่วไป
ตำบลภูแล่นช้างอยู่ในเขตกิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาคูประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร - ทิศเหนือ ติดต่อตำบลโนนจาน กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ - ทิศใต้ ติดต่อตำบลไคนุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ - ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง และตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ - ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลไคนุ่น และตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

เนื้อที่
ตำบลภูแล่นช้าง มี ๑๐ หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๖,๒๕๐ ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลภูแล่นช้างมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ดินเป็นดินปนทราย มีลำห้วยไหลผ่าน ๔ สาย คือ ลำน้ำพะยัง ลำห้วยขาม ลำห้วยบอง และลำห้วยสาวเอ้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง
“ภูแล่นช้างเมืองน่าอยู่ ควบคู่คุณธรรม ก้าวนำการศึกษาเทคโนโลยี รักษาประเพณี วิถีเกษตรอุตสาหกรรม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ”

check_circle ตราสัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์ เทศบาลตำบลภูแล่นช้าง


check_circle วิสัยทัศน์และพันธกิจ
พันธกิจการพัฒนาเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง
๑. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒. ส่งเสริมผลผลิตภัณฑ์การเกษตรอย่างมีระบบ ๓. ส่งเสริมการสร้างชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน ๔. ส่งเสริมการพัฒนาข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ๕. ส่งเสริมการสงเคราะห์และช่วยเหลือสวัสดิการต่างๆในท้องถิ่น ๖. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาครัฐ เอกชน และชุมชน

แนวทางในการพัฒนาเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง
๑. การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว ๒. มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข ๓. ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้ ๔. ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ๕. ประชาชนมีความรู้ ได้รับการศึกษา และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ๖. การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ๗. ประชาชนได้รับการช่วยเหลือสวัสดิการต่างๆ

นโยบายของผู้บริหารเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง
นายกเทศมนตรีตำบลภูแล่นช้าง ได้แถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยมีสาระสำคัญที่จะยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑) นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ๒) นโยบายด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๓) นโยบายด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ๔) นโยบายด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕) นโยบายด้านการเมือง และการบริหารจัดการองค์กร

check_circle ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้ 1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำได้แก่ (1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (2) ให้มีและบำรุงทางบกและทาง (3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น (9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล 2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่ (1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ (3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม (4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน (5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร (6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ (9) เทศพาณิชย์ 3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ (5) การสาธารณูปการ (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (9) การจัดการศึกษา (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (14) การส่งเสริมกีฬา (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (18) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (22) การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณอื่น ๆ (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน.จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (25) การผังเมือง (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (28) การควบคุมอาคาร (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

image ผลิตภัณฑ์ OTOP
 
image แนะนำที่เที่ยวและสถานที่สำคัญ
ดอนหอ (ศาลญาปู่-ตา เมืองภูแล่นช้าง)[31 มกราคม 2566]
ศาลเจ้าแม่ย่าเบ้า[31 มกราคม 2566]
รอยตีนไดโนเสาร์ วนอุทยานภูแฝก (5 ภาพ)[31 มกราคม 2566]
 
image แนะนำที่พัก
 
image แนะนำร้านอาหารอร่อย